วัยเยาว์อันสิ้นสูญ วัยเยาว์อันสิ้นสูญ (Lord of the Flies)

วัยเยาว์อันสิ้นสูญ ช่วงเวลาที่เราต้องมีระยะห่างต่อกัน เราโดนบังคับให้ต้องอยู่ภายในพื้นที่ของตัวเองเพื่อป้องการระบาดของโรค การดำรงชีวิตที่ลำบากยากเย็น (โดยเฉพาะคนทำงานหาเช้ากินค่ำ) การถูกบีบให้อยู่ในพื้นที่จำกัดหรือระยะห่างที่จำกัดเช่นนี้ ชวนให้เราจินตนาการถึงการ ‘ติดเกาะ’ อยู่ไม่น้อย แม้ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่เทียบกันไม่ได้ เพราะการติดเกาะไม่ได้มีสิ่งของอำนวยความสะดวกอย่างการติดอยู่ในขอบเขตจำกัดของเมือง

นวนิยายเรื่องนี้อาจเป็นการสาธิตให้เราเห็นถึงการ ‘ติดเกาะ’ ได้อย่างดี ซึ่งเป็นสภาวะอันไม่อาจหนี การเอาตัวรอด หรือแม้แต่การบีบเค้นความดำมืดในจิตใจของเราออกมาให้เห็นได้

นิยายเรื่องนี้ คือหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกสมัยใหม่ แม้เหตุการณ์จะเล่าถึงการติดเกาะของเหล่าเด็กชายชาวอังกฤษซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกอันเป็นสถานที่และช่วงเวลาที่ห่างไกลจากปัจจุบัน ทว่าเรื่องเล่าถึงสัญชาตญาณการเอาตัวรอด การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเป็นผู้นำ ตลอดจนการช่วงชิงอำนาจระหว่างความใฝ่ดีกับความป่าเถื่อนภายในจิตใจของเหล่าเด็กชายซึ่งถูกล่อหลอกให้ปรากฏออกมาจากความอ่อนแอของตนเอง ได้ทำให้เรื่องนี้ นำเสนอประเด็นปัญหาสากลที่ว่า แท้ที่จริงแล้วเราต่างมี ‘ซาตาน’ อยู่ภายใน รอแค่เพียงเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสมให้มันได้เผยออกมา

แม้ว่าเรื่องเล่าของเขาจะฟังดูเหมือนนิทาน คือมีการสร้างสถานการณ์หนึ่งขึ้นมา ใส่ตัวละครเข้าไป และเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงที่พยายามจะบอกว่า ‘เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า’ อยู่ตลอด อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ประกอบอาชีพครู และได้ใกล้ชิดกับเด็ก ๆ ด้วย ทำให้น้ำเสียงในการเล่าค่อนข้างไปในทางสื่อสารกับเด็ก ๆ แต่ว่าการเล่าแบบนิทานของเขาตั้งอยู่บนแนวคิดหรือแก่นเรื่องที่จริงจังเข้มข้น คือการพูดถึงจิตใจอันดำมืดข้างในของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและมีความเป็นสากล นี่จึงทำให้เรื่องเล่าเชิงนิทานของเขาไปไกลกว่าความเป็นนิทานสอนใจ คือกลายเป็นนิทานที่มีความสมจริง หรือจะเรียกว่าเป็น ‘แนวสัจนิยมนิทาน’ ก็ได้

วิลเลียม โกลดิ้ง (William Golding) ผู้ประพันธ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาเชื่อว่าพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนคือความชั่วร้าย และมนุษย์ที่ศิวิไลซ์นั้นชั่วร้ายกว่าใคร เพราะความศิวิไลซ์คือเครื่องมือหนึ่งที่จะนำไปสู่การทำลายล้าง ในเรื่องเขาจึงนำเสนอให้เห็นการต่อสู้ของเด็กตัวละครเอกที่มักมองว่าตัวเองนั้นเหนือกว่าใคร ใครมีเครื่องที่จะทำให้ตนเองเหนือกว่า เช่น หอยสังข์ หอก หน้ากาก ไฟ หรือแม้แต่บริวารในสังกัดของตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กคนนั้นมีสิทธิ์ในการเป็นผู้นำ และแน่นอนว่าเครื่องมือเหล่านี้นำไปสู่หายนะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเด็นหลักของเรื่องจึงไม่อาจแยกขาดได้ว่าเป็นระหว่างเรื่องภายในจิตใจหรือสภาพสังคมหรือเหตุแวดล้อม เนื่องจากทั้งสองส่วนต่างเป็นตัวกำหนดซึ่งกันและกัน แม้ว่าจุดเริ่มต้นจะเริ่มจากพื้นฐานอันชั่วร้ายข้างในจิตใจ แต่เมื่อมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ยิ่งทำให้ความชั่วร้ายนั้นแผลงฤทธิ์มากขึ้น ดังนั้นเรื่องนี้จึงมองได้ทั้งสองมุมมอง โดยที่ทั้งสองมุมมองไม่อาจพิจารณาให้แยกขาดออกจากกันได้ นี่อาจเป็นเห็นผลหนึ่งที่ทำให้ ปัญหาเชิงศีลธรรมในเรื่องนี้ไม่ง่ายต่อการตัดสินพิพากษา

นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการประกาศจากรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1983 ด้วยเหตุผลว่า เป็นผลงานเขียนที่ได้รับการยอมรับว่าใช้ภาษาในการเล่าเรื่องที่เรียบง่าย งดงาม และกระจ่างชัดผ่านแนวเรื่องสมจริง อีกทั้งยังสร้างสรรค์ความหมายของเรื่องเล่าผ่านสัญลักษณ์ได้อย่างมีชั้นเชิง งานวรรณกรรมของเขามักตั้งคำถามต่อความเป็นมนุษย์ที่ดำรงอยู่ภายใต้เงื่อนไขอันจำกัดและบีบรัดสภาวะจิตใจ เพื่อนำไปสู่ข้อถกเถียงถึงปัญหาเชิงศีลธรรมอันสลับซับซ้อนยากแก่การตัดสินผิดถูกชั่วดี ทำให้งานวรรณกรรมของเขามีมิติที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อนและกินใจผู้อ่านมาหลายยุคสมัย

คำถามที่สำคัญคือ
หากเราอ่านนวนิยายเรื่องนี้ ในช่วงเวลานี้
เราจะมองเห็นอะไรบ้างจากนิทานเรื่องนี้

Lord of the Flies: วัยเยาว์อันสิ้นสูญ
วิลเลียม โกลดิ้ง: เขียน
ต้องตา สุธรรมรังษี: แปล
จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร: บรรณาธิการ

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่ !

http://www.exlibris.in.th/product/989/วัยเยาว์อันสิ้นสูญ-lord-of-the-flies

ร้านหนังสือ Exlibris

วัยเยาว์อันสิ้นสูญ     เลขที่ 1 ถนนรองเมือง 5 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

 

ข้อมูลติดต่อเพิ่มเติม

วัยเยาว์อันสิ้นสูญ     http://www.exlibris.in.th
     email:
editorial.lighthouse@gmail.com
coordinator.lighthouse@gmail.com
Lighthouse Publishing-สำนักพิมพ์ lighthouse
Lighthouse Publishing

สำนักพิมพ์ Lighthouse

**************************************************

วัยเยาว์อันสิ้นสูญ ช่วงเวลาที่เราต้องมีระยะห่างต่อกัน เราโดนบังคับให้ต้องอยู่ภายในพื้นที่ของตัวเองเพื่อป้องการระบาดของโรค การดำรงชีวิตที่ลำบากยากเย็น (โดยเฉพาะคนทำงานหาเช้ากินค่ำ) การถูกบีบให้อยู่ในพื้นที่จำกัดหรือระยะห่างที่จำกัดเช่นนี้ ชวนให้เราจินตนาการถึงการ ‘ติดเกาะ’ อยู่ไม่น้อย แม้ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่เทียบกันไม่ได้ เพราะการติดเกาะไม่ได้มีสิ่งของอำนวยความสะดวกอย่างการติดอยู่ในขอบเขตจำกัดของเมือง

นวนิยายเรื่องนี้อาจเป็นการสาธิตให้เราเห็นถึงการ ‘ติดเกาะ’ ได้อย่างดี ซึ่งเป็นสภาวะอันไม่อาจหนี การเอาตัวรอด หรือแม้แต่การบีบเค้นความดำมืดในจิตใจของเราออกมาให้เห็นได้

นิยายเรื่องนี้ คือหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกสมัยใหม่ แม้เหตุการณ์จะเล่าถึงการติดเกาะของเหล่าเด็กชายชาวอังกฤษซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกอันเป็นสถานที่และช่วงเวลาที่ห่างไกลจากปัจจุบัน ทว่าเรื่องเล่าถึงสัญชาตญาณการเอาตัวรอด การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเป็นผู้นำ ตลอดจนการช่วงชิงอำนาจระหว่างความใฝ่ดีกับความป่าเถื่อนภายในจิตใจของเหล่าเด็กชายซึ่งถูกล่อหลอกให้ปรากฏออกมาจากความอ่อนแอของตนเอง ได้ทำให้เรื่องนี้ นำเสนอประเด็นปัญหาสากลที่ว่า แท้ที่จริงแล้วเราต่างมี ‘ซาตาน’ อยู่ภายใน รอแค่เพียงเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสมให้มันได้เผยออกมา

แม้ว่าเรื่องเล่าของเขาจะฟังดูเหมือนนิทาน คือมีการสร้างสถานการณ์หนึ่งขึ้นมา ใส่ตัวละครเข้าไป และเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงที่พยายามจะบอกว่า ‘เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า’ อยู่ตลอด อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ประกอบอาชีพครู และได้ใกล้ชิดกับเด็ก ๆ ด้วย ทำให้น้ำเสียงในการเล่าค่อนข้างไปในทางสื่อสารกับเด็ก ๆ แต่ว่าการเล่าแบบนิทานของเขาตั้งอยู่บนแนวคิดหรือแก่นเรื่องที่จริงจังเข้มข้น คือการพูดถึงจิตใจอันดำมืดข้างในของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและมีความเป็นสากล นี่จึงทำให้เรื่องเล่าเชิงนิทานของเขาไปไกลกว่าความเป็นนิทานสอนใจ คือกลายเป็นนิทานที่มีความสมจริง หรือจะเรียกว่าเป็น ‘แนวสัจนิยมนิทาน’ ก็ได้

วิลเลียม โกลดิ้ง (William Golding) ผู้ประพันธ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาเชื่อว่าพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนคือความชั่วร้าย และมนุษย์ที่ศิวิไลซ์นั้นชั่วร้ายกว่าใคร เพราะความศิวิไลซ์คือเครื่องมือหนึ่งที่จะนำไปสู่การทำลายล้าง ในเรื่องเขาจึงนำเสนอให้เห็นการต่อสู้ของเด็กตัวละครเอกที่มักมองว่าตัวเองนั้นเหนือกว่าใคร ใครมีเครื่องที่จะทำให้ตนเองเหนือกว่า เช่น หอยสังข์ หอก หน้ากาก ไฟ หรือแม้แต่บริวารในสังกัดของตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กคนนั้นมีสิทธิ์ในการเป็นผู้นำ และแน่นอนว่าเครื่องมือเหล่านี้นำไปสู่หายนะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเด็นหลักของเรื่องจึงไม่อาจแยกขาดได้ว่าเป็นระหว่างเรื่องภายในจิตใจหรือสภาพสังคมหรือเหตุแวดล้อม เนื่องจากทั้งสองส่วนต่างเป็นตัวกำหนดซึ่งกันและกัน แม้ว่าจุดเริ่มต้นจะเริ่มจากพื้นฐานอันชั่วร้ายข้างในจิตใจ แต่เมื่อมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ยิ่งทำให้ความชั่วร้ายนั้นแผลงฤทธิ์มากขึ้น ดังนั้นเรื่องนี้จึงมองได้ทั้งสองมุมมอง โดยที่ทั้งสองมุมมองไม่อาจพิจารณาให้แยกขาดออกจากกันได้ นี่อาจเป็นเห็นผลหนึ่งที่ทำให้ ปัญหาเชิงศีลธรรมในเรื่องนี้ไม่ง่ายต่อการตัดสินพิพากษา

นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการประกาศจากรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1983 ด้วยเหตุผลว่า เป็นผลงานเขียนที่ได้รับการยอมรับว่าใช้ภาษาในการเล่าเรื่องที่เรียบง่าย งดงาม และกระจ่างชัดผ่านแนวเรื่องสมจริง อีกทั้งยังสร้างสรรค์ความหมายของเรื่องเล่าผ่านสัญลักษณ์ได้อย่างมีชั้นเชิง งานวรรณกรรมของเขามักตั้งคำถามต่อความเป็นมนุษย์ที่ดำรงอยู่ภายใต้เงื่อนไขอันจำกัดและบีบรัดสภาวะจิตใจ เพื่อนำไปสู่ข้อถกเถียงถึงปัญหาเชิงศีลธรรมอันสลับซับซ้อนยากแก่การตัดสินผิดถูกชั่วดี ทำให้งานวรรณกรรมของเขามีมิติที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อนและกินใจผู้อ่านมาหลายยุคสมัย

คำถามที่สำคัญคือ
หากเราอ่านนวนิยายเรื่องนี้ ในช่วงเวลานี้
เราจะมองเห็นอะไรบ้างจากนิทานเรื่องนี้

Lord of the Flies: วัยเยาว์อันสิ้นสูญ
วิลเลียม โกลดิ้ง: เขียน
ต้องตา สุธรรมรังษี: แปล
จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร: บรรณาธิการ

**************************************************

วัยเยาว์อันสิ้นสูญ ช่วงเวลาที่เราต้องมีระยะห่างต่อกัน เราโดนบังคับให้ต้องอยู่ภายในพื้นที่ของตัวเองเพื่อป้องการระบาดของโรค การดำรงชีวิตที่ลำบากยากเย็น (โดยเฉพาะคนทำงานหาเช้ากินค่ำ) การถูกบีบให้อยู่ในพื้นที่จำกัดหรือระยะห่างที่จำกัดเช่นนี้ ชวนให้เราจินตนาการถึงการ ‘ติดเกาะ’ อยู่ไม่น้อย แม้ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่เทียบกันไม่ได้ เพราะการติดเกาะไม่ได้มีสิ่งของอำนวยความสะดวกอย่างการติดอยู่ในขอบเขตจำกัดของเมือง

นวนิยายเรื่องนี้อาจเป็นการสาธิตให้เราเห็นถึงการ ‘ติดเกาะ’ ได้อย่างดี ซึ่งเป็นสภาวะอันไม่อาจหนี การเอาตัวรอด หรือแม้แต่การบีบเค้นความดำมืดในจิตใจของเราออกมาให้เห็นได้

นิยายเรื่องนี้ คือหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกสมัยใหม่ แม้เหตุการณ์จะเล่าถึงการติดเกาะของเหล่าเด็กชายชาวอังกฤษซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกอันเป็นสถานที่และช่วงเวลาที่ห่างไกลจากปัจจุบัน ทว่าเรื่องเล่าถึงสัญชาตญาณการเอาตัวรอด การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเป็นผู้นำ ตลอดจนการช่วงชิงอำนาจระหว่างความใฝ่ดีกับความป่าเถื่อนภายในจิตใจของเหล่าเด็กชายซึ่งถูกล่อหลอกให้ปรากฏออกมาจากความอ่อนแอของตนเอง ได้ทำให้เรื่องนี้ นำเสนอประเด็นปัญหาสากลที่ว่า แท้ที่จริงแล้วเราต่างมี ‘ซาตาน’ อยู่ภายใน รอแค่เพียงเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสมให้มันได้เผยออกมา

แม้ว่าเรื่องเล่าของเขาจะฟังดูเหมือนนิทาน คือมีการสร้างสถานการณ์หนึ่งขึ้นมา ใส่ตัวละครเข้าไป และเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงที่พยายามจะบอกว่า ‘เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า’ อยู่ตลอด อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ประกอบอาชีพครู และได้ใกล้ชิดกับเด็ก ๆ ด้วย

คำถามที่สำคัญคือ
หากเราอ่านนวนิยายเรื่องนี้ ในช่วงเวลานี้
เราจะมองเห็นอะไรบ้างจากนิทานเรื่องนี้

Lord of the Flies: วัยเยาว์อันสิ้นสูญ
วิลเลียม โกลดิ้ง: เขียน
ต้องตา สุธรรมรังษี: แปล
จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร: บรรณาธิการ

Don`t copy text!